วันพุธ

สิ่งมีประโยชน์ Tropical Antibiotic ที่ใช้รักษาสิว

ในกระบวนการรูปแบบหรือขั้นตอนการเกิดโรคสิวในแต่ละประเภทนั้น จะขอไม่กล่าวถึงไปอ่านได้ในบทที่ผ่านๆมา เรามาเข้าเรื่องดีกว่า ยาปฏิชีวนะโดยการทา (Tropical Antibiotic) ที่ใช้รักษาสิว มี 3 ชนิดด้วยกันคือ1. Clindamycin (CL) เป็นที่นิยมกันมากหาซื้อได้ง่ายมีหลากหลายยี่ห้อในตลาด และราคาไม่แพง ที่ใช้ในการรักษาคือ CL1% in Hydroalcoholic Solution โดยทาวันละ 2 ครั้ง 2 เดือน ใช้รักษาสิวอักเสบอ่อนๆถึงปานกลาง (สิวตุ่มแดงและสิวตุ่มหนอง)





CL มีฤทธิลดจำนวนเชื้อ P.acnes ได้ 83% และลด Surface free fatty acids ได้ 100% ลด bacterial lipase ได้ 50% และลดรอยโรคสิวอักเสบได้ 25.6-58.4% ผลข้างเคียงคิดเป็น 5% ของผู้ป่วยที่มักจะเกิดการระคายเคือง2. Erythromycin (ER) ที่ใช้ในการรักษาคือ 2% in Hydroalcoholic Solution โดยทาวันละ 2 ครั้ง 2 เดือน ใช้รักษาสิวอักเสบอ่อนๆถึงปานกลาง (สิวตุ่มแดงและสิวตุ่มหนอง)
ER มีฤทธิลดจำนวนเชื้อ P.acnes ได้ 33% และลด Surface free fatty acids ได้ 100% ลด bacterial lipase ได้ 90% และลดรอยโรคสิวอักเสบได้ 32.0 -54.4% 3. Tetracycline (TC Hydrocholoride) TC.HCL 1% in Hydroalcoholic Solution โดยทาวันละ 2 ครั้ง 2 เดือน ใช้รักษาสิวอักเสบอ่อนๆถึงปานกลาง (สิวตุ่มแดงและสิวตุ่มหนอง) TC มีฤทธิลดจำนวนเชื้อ P.acnes ได้ 33% และลด Surface free fatty acids ได้ 100% ลด bacterial lipase ได้ 90% และลดรอยโรคสิวอักเสบได้ 24.9 -52.3% ผลเสียก่อให้เกิดการดื้อยาของบักเตรีชนิด Staphylococcus 100% และ P.acnes 33% อีกทั้งยังให้ผลระคายเคือง



การรักษาสิว (Treatment of Acne Vulgaris)
แพทย์ควรได้อธิบายให้ผู้ป่วยสิวทราบถึงสาเหตุ, ระยะเวลาการรักษา, และผลดีที่จะได้จากการรักษา เพื่อที่ป่วยจะได้ใช้ยาที่ถูกต้อง เพื่อผลที่ได้จะได้รับผลลัพธ์ที่ดี การรักษาสิว1. โดยการทา (topical Therapy of Acne Vulgaris) ยาทารักษาสิวนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางได้แก่ Benzoyl Peroxide (BP), Retinoic Acid (RA) และพวก Antibiotic เช่น Clindamycin (CL) ซึ่งชื่อยาที่ได้กล่าวไปนั้น เป็นยาที่มีตามร้านขายยาทั่วไปและมักจะหาซื้อได้ง่าย แต่การใช้งานค่อนข้างมีผลกระทบคือการเกิดการระคายเคืองของผิว (สาวๆหนุ่มๆใน pantip ที่นิยมซื้อยาทารักษาเอง จะต้องรู้จักตัวเหล่านี้แน่นอนเพราะแนะนำกันต่อๆมา ไม่รู้ใครแนะนำคนแรกเหมือนกัน ซึ่งจริงๆแล้วตัวเจ้าของ blog เองไม่ขอแนะนำไม่ใช่เพราะมันจะไม่หายแต่เพราะมีตัวที่เค้าพัฒนาขึ้นมาแล้วให้ผลดีกว่าและการระคายเคืองน้อยกว่า)ซึ่งยารักษาสิวตัวใหม่ที่มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อลดการระคายเคืองที่น้อยลงได้แก่ Isotretinoin (ITN), Azelaic acid (AZA) ซึ่งเหมาะที่จะรักษา สิวคอมมิโดนและสิวชนิดอักเสบ Glycolic acid ช่วยสลายคอมมิโดนและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนังที่รอยโรคเดี๋ยวในหัวข้อต่อไปจะมาบอกถึงยาที่ได้รับการพัฒนาแล้วมันให้ผลการทำงานจากการวิจัยดีกว่ายารุ่นเก่าขนาดไหนในปริมาณที่เทียบเท่ากัน2. โดยการรับประทาน (Oral Therapy of Acne Vulgaris) แบ่งออกเป็น 3 พวกด้วยกันคือ2.1) Antibiotic ยาจำพวกนี้สามารถที่จะรักษาสิวอักเสบปานกลางได้ผลดี แต่ไม่เพียงพอไปลดจำนวนเชื้อ P.acnes ลง แต่สามารถลดกรดไขมันอิสระได้ อีกทั้งยังสามารถไปยับยั้งการหลั่ง Enzymes หลายชนิด ตลอดไปจนยังไปต้าน Chemotaxis, Lymphocyte Function ได้2.2) Isotretinoin (ITN) เป็น 13-cis-Retinoic acid หรือที่เป็นที่นิยมเรียกกันว่า roaccutane, acnotin ซึ่งล้วนเป็นชื่อทางการค้าของ ITN ทั้งสิ้น เดี๋ยวนี้ใครเป็นสิวนิดหน่อยก็ต้องขอหมอหรือผู้รักษาเรื่อยไปว่าอยากทาน หนำซ้ำบางครั้งหมอไม่จ่ายก็ดิ้นรนหาซื้อเองเพื่อจะนำมารับประทาน จริงๆแล้วเรียกว่าอันตรายมากทีเดียวเพราะตัวนี้ใช้เฉพาะการรักษาสิวอักเสบรุนแรงและสิวชนิดที่ยากต่อการรักษา แน่นอนด้วยความแรงของมันทำให้ผลการรักษาย่อมเหนือกว่ายาอื่นทุกตัวแต่อย่างที่บอกไป คือมันใช้รักษาสิวชนิดอักเสบรุนแรงและสิวที่ยากต่อการรักษาเพราะดังนั้นถ้าหากเป็นนิดๆหน่อยๆแล้วใช้ยาตัวนี้ก็ถือว่าไม่คุ้มกับที่เสียดูจากคำเตือนที่ค่อนข้างมาก (บางคนว่าชั้นยังไม่แก่ กินไปก่อนขอสวยก่อน หารู้ไม่ว่าสวยแต่อยู่ได้ไม่นานเท่าไร)2.3) การใช้ Hormonal Preparation ก็ได้แก่พวกการรับประทาน ออร์โมนต่างๆ พวกนี้การออกฤทธิ์นั้นจะไปลดการหลั่งซีบุ่มให้น้อยลง แต่อาจมีอาการข้างเคียงคือมีรอบประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ มีอาการบวมน้ำหรือการเกิดฝ้าได้ง่ายการรักษาสิวนั้น หลายคนมองว่า ทำไมรักษาสิวมาตั้งหลายอาทิตย์ ยังไม่หาย คำว่าหลายอาทิตย์นี้ ส่วนมากที่เห็นจะไม่มีใครอดทนได้ถึงเดือนกันซักเท่าไร จริงๆแล้วยาที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นการทา หรือ การกิน นั้นต่างก็ต้องใช้ช่วงระยะเวลาที่จะทำให้การรักษาหายไม่กลับมาเป็นอีก หรือถ้าเป็นก็น้อย ดังนั้นแล้วหากจะรักษากันจริงๆเรื่องของสิวก็ต้องให้เวลา ไม่ใช่จะหายทันใจเหมือนเสกมา ซึ่งแพทย์ที่ทำการรักษาต้องพยายามอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงเวลาการรักษา แต่ตามปกติแล้วอาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วผู้ป่วยจะหยุดการรักษาเองซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะว่าเป็นการไม่หายขาด พอเป็นใหม่ก็โทษแพทย์ผู้รักษาว่ารักษาทำไมไม่หายขาด (ก็จะหายขาดได้อย่างไรเมื่อผู้ป่วยไม่มาให้ครบ) แต่ก็ว่าไม่ได้อีก เพราะว่าในบางที่ก็เก็บค่าบริการรักษาที่แพงเหลือหลาย ก็เป็นธรรมดาที่ผู้ป่วยย่อมมองว่าหายแล้วจะไปรักษาอีกทำไม อนิจจังวนกันไป...วนกันมา...อีกเรื่องที่อยากจะพูดเหลือเกิน นั่นก็คือผู้ป่วยที่เป็นสิวนั้นเมื่อเห็นมีสิวขึ้นไม่ว่าที่บริเวณไหนก็แล้วแต่มักจะไปหาซื้อยามารักษาเองตามร้านขายยา ซึ่งเป็นวิธีการที่ไม่ผิด หากผู้ป่วยสามารถที่จะแยกโรคของสิวออกว่าผู้ป่วยเป็นโรคของสิวแบบไหน แล้วทำการเลือกซื้อยาและโดสที่เหมาะสมกับการรักษา ก็จะทำให้หายได้โดยไม่ต้องพึ่งแพทย์ ซึ่งมันก็เป็นความฝัน...เพราะในความเป็นจริงๆแล้วผู้ป่วยมักจะคิดว่า เป็นสิวก็คือสามารถใช้ยารักษาสิวตัวใดก็ได้รักษา ซึ่งย่อมส่งผลให้ รักษาเท่าไรก็ไม่หายซักที เดี๋ยวดีอยู่พักก็กลับมาหนัก บางรายก็ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ก็จะให้พูดว่าอย่างไรได้ เหมือนกับว่า เราผมยุ่งแทนที่จะหาหวีมาหวี กับเอาไดร์มาเป่า มันก็จะเรียบซักวันล่ะผมน่ะ ที่พูดนี้ไม่ได้หมายความว่าคนเป็นสิวขึ้นมา 1 เม็ดต้องรีบแจ้นไปหาแพทย์ (ซึ่งก็เป็นหนทางที่ดี แต่อาจจะแพง) หากแต่ต้องพิจารณาดูกันหน่อย ว่าที่ขึ้นมาน่ะเป็นประเภทไหน ยาตัวไหนที่มีผลต่อโรคนั้นๆ อีกอย่างการพบแพทย์นั้นเดี๋ยวนี้เห็นไปพบแพทย์ตามคลีนิค นั่งรอกันน๊านนาน ยังไม่ทันเท่าไรไปพบแพทย์ไม่ถึง 1 นาทีก็ออกมาเอายาไปทา บางรายก็เอากินบ้าง ที่เขียนไม่ได้อยากจะว่าแพทย์ลักษณะแบบเชิงพาณิชย์แบบนี้ซักเท่าไร (เพราะเงินก็ไม่เข้าใครออกใคร) แต่ผลการรักษาก็คงนานกว่าจะหาย บางคนที่เป็นโรคสิวแบบพื้นๆที่ยาตั้วนั้นๆสูตรๆนั้น สามารถส่งผลต่อโรคได้ ก็ดีไปคือ หาย แต่ก็นั่นล่ะ หากไม่ตรงก็หากันไปเถอะ หากันให้ตายก็ไม่หายซะที เพราะดังนั้นแล้วโรคสิวให้ดีในกรณีที่เป็นหรือพบมาก ควรมีการตรวจอย่างละเอียดหน่อยว่าเป็นโรคสิวชนิดใด และอย่างเดียวหรือเปล่า ซึ่งนั่นหมายถึงการนำมาสู่การรักษาที่ถูกต้อง ได้ผล แลพประหยัดเวลากับค่าใช้จ่าย ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น